บทเรียนชั้น M. 2

46 responses to “บทเรียนชั้น M. 2

  1. ได้รู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลากัดและการดูแลปลากัด
    และได้รู้ว่าการเลี้ยงปลากัดไม่ยากเลย
    และยังได้รู้การเลี้ยงปลากัดที่ถูกวิธีด้วย

  2. -ได้รู้ว่าการเลี้ยงปลากัดนั้นไม่ยาก
    -การเลี้ยงปลากัดอย่างถูกวิธี

  3. ได้รู้การคัดสรรปลากัด
    ปลากัดสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย

  4. ได้รู้วิธีการเพาะปลากัดอย่างถูกต้อง
    และ
    ข้อควรระวังของการเพาะปลากัด

  5. รู้วิธีการเย็บผ้าด้วยมือ

    การเนาผ้า,ลายโซ่,ด้นถอยหลัง,เดินเรียบ

    • การเลี้ยงปลารักเรทำไมมันไม่โตเลยคะ

      นู่เลี้ยงดีที่สุดแล้วคะ

      ข้าวก้ให้กิน ล้อเล่นคะ

  6. ได้รู้วิธีการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง และทำให้เรามีเมตตาในการเลี้ยงสัตว์เพราะเมื่อเรารู้วิธีการเลี้ยงที่ถูกทำให้ปลาไม่ตาย ดังนั้นเราจึงไม่บาป ขอบคุณค่ะ ^^

  7. ต้องขอขอบพระคุณคุณครูผานิต เพียรมาก อย่างที่ทำให้หนูได้ฝึกการค้าขาย ฝึกการเลี้ยง ฝึกการทำงานประดิษฐ์ และฝึกความรับผิดชอบของตนเอง ขอขอบพระคุณมากค่ะ

  8. ต้องขอขอบพระคุณคุณครูผานิต เพียรมาก อย่างที่ทำให้หนูได้ฝึกการค้าขาย ฝึกการเลี้ยง ฝึกการทำงานประดิษฐ์ และฝึกความรับผิดชอบของตนเอง ขอขอบพระคุณมากค่ะ

  9. กระบวนการเทคโนโลยี
    1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ การแก้ปัญหาระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้นๆให้ได้ใจความชัดเจน
    2.รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ อความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น รวบรวมข้อมูลจากหนังสือวารสารต่างๆ สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่นๆ ระดมสมองคิดหาวิธีการ สืบค้นจากอินเทอร์เนตและจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การได้วิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในหลายแบบขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหาที่เราต้องการให้ นักเรียนได้เรียนรู้และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด
    3. เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ คือ ในขั้นนี้เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหาโดยนำข้อมูลและความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกันจนได้ข้อสรุปว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการเป็นแบบใดโดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่าเมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น
    4. ออกแบบและปฏิบัติการ คือ ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไปอาจเป็นแค่ลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วยนั่นคือ เมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
    5. ทดสอบ เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองใช้เพื่อทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุงแก้ไข
    6. การปรับปรุงแก้ไข หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่าสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นหรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงานมีข้อบกพร่องก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คือย้อนไปขั้นตอนที่ 3
    7. ประเมินผล หลังจากปรับปรุงแก้ไขจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้ว ก็นำมาประเมินผลโดยรวม โดยพิจารณาดังนี้ สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่ สวยงาม ดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่ แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่ ต้นทุนสูงเกินไปหรือไม่ บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้ แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดูหรือแก้ไขได้ เด็กชายธนิสร ทับผึ้ง ม.2/2 เลขที่ 12

  10. ได้รู้เรื่องการเลี้ยงปลาหมอสีอย่างถูกต้อง และเข้าใจการเลี้ยงดูอย่างดี และสามารถนำไปเลี้ยงได้ด้วยตนเอง เช่น การเลือกซื้อพันธุ์ปลาหมอสีที่ดี และ หัวอาหารที่ใช้กับปลาหมอสี
    ขอบพระคุณมากค่ะ :))

  11. ได้รู้วิธีการเลี้ยงปลาทองที่ถูกต้องและทำยังไงไม่ให้ปลาทองตายการให้อาหารยังไงต้องล้างอ่างกี่ครั้งและอีกหลายๆอย่างครับผม :))

  12. ได้รู้เรื่องการเลี้ยงปลาหมอสีอย่างถูกต้อง และเข้าใจการเลี้ยงดูอย่างดี และสามารถนำไปเลี้ยงได้ด้วยตนเอง เช่น การเลือกซื้อพันธุ์ปลาหมอสีที่ดี และ หัวอาหารที่ใช้กับปลาหมอสี
    ขอบพระคุณมากค่ะ 🙂

  13. หลังจากที่ผมได้ศึกษาการเลี้ยงปลาทองมาอับดับแรกต้องเตรียมอ่างปลาที่สะอาดที่สุดที่จะหามาได้ตามตลาดนัดคลองถมหรือห้างสรรพสินก็ได้และต้องเรียนรู้วิธีการเลี้ยงมาเป็นอย่างดีการให้อาหาร แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ ดังนั้นอย่าตามใจปากปลาทองและต้องใช้น้ำที่สะอาด
    🙂

  14. ผมได้ความรู้เกี่ยวกับขนาดของตู้ปลาว่ามีขนาด 18 นิ้ว(ขนาดกวาง 45 ซ.ม.ยาว 30 ซ.ม.และ
    สูง 30 ซ.ม.)ขนาดจุ40ลิตรอาจเลี้ยงปลาทองเล็กๆได้4-8ตัวหรือปลาเล็กๆได้10-20ตัวหรือปลาทะเลได้เพียงตัวเดียวตู้ปลาขนาดใหญ่ขึ้นก็ยิ่งก็ยิ่งมีปริมาณน้ำมากขึ้นสภาพน้ำในตู้ก็ยิ่งเปลี่ยนแปลงช้าลงบจำนวนปลาที่เลี้ยงก็ปลอดภัยเพิ่มขึ้นหรือสามารถเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมากขึ้นครับ 😀

  15. การเลี้ยงปลากัด ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากนักและมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป ตัวผู้จะมีหางที่ยาวในขณะที่ตัวเมียดูเรียบง่ายกว่าเมื่อเทียบกับตัวผู้ ปลากัดเป็นปลามีสีสันหลากหลายเช่น แดง ฟ้า ม่วง และขาว เพื่อให้ปลากัดมีสุขภาพที่ดีและร่างเริง มีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติตามดังนี้
    ในการเลี้ยงปลากัดควรแยกเพศผู้ให้อยู่ตัวเดียว เพราะถ้าอยู่ร่วมกัน มันจะต่อสู้กันจนเกิดการตายได้ แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะมีนิสัยไม่ดุร้ายและสามารถที่จะเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมากได้
    ปลากัดมีถิ่นกำเนิดตรงบริเวณน้ำนิ่งที่เป็นทุ่งข้าวทางเอเชียใต้ ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่มันได้รับจึงต่ำ มันจึงมีการช่วยหายใจโดยงับเอาอากาศที่บริเวณผิวน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ด้วยเหตุนี้ปลากัดจึงไม่ต้องการท่อออกซิเจนในภาชนะเลี้ยงปลา และขนาดของภาชนะไม่ควรจะเล็กเกินไป ควรมีขนาดที่พอเหมาะ โดยอาจจะเป็นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัดโดยเฉพาะ หรือ อาจนำแก้วใส่บรั่นดีขนาดใหญ่มาเลี้ยงก็ได้ ควรจะใส่กรวดหิน พืชน้ำหรือหาวัสดุมาตกแต่งที่เลี้ยงปลาให้สวยงาม เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่สำหรับปลากัดและมีความสวยงามแก่ผู้ที่พบเห็นอีกด้วย
    น้ำในภาชนะเลี้ยงควรเปลี่ยนทุก2อาทิตย์ โดยน้ำที่เปลี่ยนนี้ต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลากัด เช่นในน้ำประปาจะมีสารแปลกปลอมโดยเฉพาะคอร์รีนซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลากัด ดังนั้นก่อนจะเปลี่ยนน้ำควรพักน้ำประปาไว้2วันก่อน เพื่อให้ คอร์รีน ในน้ำระเหยออกไปในอากาศ ผู้เลี้ยงอาจจะใช้น้ำกรองหรือน้ำที่ซื้อมาจากร้านขายปลาก็ได้ นอกจากนี้ควรเก็บน้ำเดิมไว้1/4ส่วนรวมกับน้ำที่จะนำมาเปลี่ยน3/4ส่วน เพราะจะเป็นการรักษาสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อปลากัด ผู้เลี้ยงควรทำความสะอาดภาชนะด้วยผ้าหรือกระดาษที่สะอาด ไม่ควรใช้สารทำความสะอาดเพราะถ้าตกค้างจะเป็นอันตรายต่อปลากัด นอกจากนี้อุณหภูมิของน้ำควรจะเท่ากับอุณหภูมิห้องก่อนที่จะนำปลากัดไปปล่อยในน้ำด้วย

      • เลี้ยงปลากัดจีนค่ะ
        การเตรียม
        1. ภาชนะสำหรับใช้เลี้ยงปลากัดอาจเป็นขวดโหลรูปทรงต่างๆ หรือตู้กระจกขนาดเล็กวางขวดหรือโหลควรเป็นที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ร้อนเกินไป เพราะอุณหภูมิน้ำที่สูงเกิน ๓๐ องศาเซลเซียส อาจทำให้ปลาตายได้เช่นเดียวกับอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
        2. น้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงปลากัดจะต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน บรรจุน้ำประมาณ ๓ ใน ๔ ของภาชนะที่ใช้เลี้ยง ปลากัดสามารถฮุบอากาศที่ผิวน้ำหายใจ ใช้ออกซิเจนได้โดยตรง จึงไม่ต้องให้อากาศ
        3. การถ่ายน้ำควรถ่ายน้ำ ๑ – ๒ ครั้งต่อสัปดาห์ โดยอาจเปลี่ยนน้ำทั้งหมด หรือดูดตะกอนและน้ำออกบางส่วน แล้วเติมน้ำใหม่ลงไปก็ได้
        4. อาหารของปลกัด เช่น ไรแดง หนอนแดง และลูกน้ำที่ช้อนจากแหล่งน้ำที่ปกติค่อนข้างเน่าเสีย อาจมีโรคและปรสิตของปลาติดมาด้วย จึงควรทำความสะอาดโดยล้างในน้ำสะอาด และแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น ๐.๕ – ๑.๐ กรัม/ลิตร ประมาณ ๑๐ – ๒๐ วินาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก่อนให้เป็นอาหารปลา(สีน้ำตาลหรืออาร์ทีเมียจะไม่มีปัญหานี้ เนื่องจากเป็นไรน้ำเค็มที่เลี้ยงในความเค็มสูง)
        5. ทุกๆ ๑ – ๒ เดือน ควรล้างทำความสะอาดภาชนะที่ใช้เลี้ยง

  16. ได้รู้ว่าปลากัด ปลานักรักผู้ยิ่งใหญ่ เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลาชนิดที่ออกเป็นไข่ เพื่อฝึกฝนการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา เอาไว้เป็นทุนในการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นที่มีราคาแพงต่อไป หรือจะเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อเป็นอาชืพเสริมก็ยังได้ ปลากัดเป็นปลาที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีความเป็นธรรมชาติสูง ราคาไม่แพงและเป็นปลาที่เพาะได้ตลอดปี ปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะที่ช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า Labyrinth เราจึงเห็นปลากัดชอบขึ้นมาหุบอากาศเพื่อหายใจ ดังนั้นปลากัดจึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดและไม่มีอากาศได้นาน ๆ.

  17. ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงาม ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันเพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภาย ในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก

  18. อยากเลี้ยงปลาทองค่ะ ดังนั้นควรเตรียมการดังนี้

    ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
    ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว
    การให้อาหาร
    แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ
    คุณภาพของน้ำ
    น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย
    อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
    ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว

  19. ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
    มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

  20. จากการศึกษาเรื่อง การเลี้ยงปลาหางนกยุงภายในตู้เพื่อเลี้ยงโชที่บ้านให้เกิดความสวยงามและประดับตกแต่บ้านจึงทำให้ไดัรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปลาหางนกยุงหลายๆด้านเพื่อที่จะนำไปประยุกค์ใช้ในการที่จะนำไปเลี้ยงที่บ้านซึ่งมีหลักการดังนี้
    การเตรียมอุปกรณ์
    ก่อนจะซื้อปลามาเลี้ยง ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมจัดการให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน ดังนี้
    1. ตู้ปลาพร้อมน้ำ… ถ้าใช้น้ำประปาต้องผ่านการพักน้ำสัก 1 สัปดาห์ ตู้ปลาที่มีขนาดประมาณ 20 นิ้ว ให้ใส่เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วทิ้งไว้ 1-2 วันจึงนำปลาลงเลี้ยง
    2. เครื่องทำอ๊อกซิเจน
    3. สายยางอ๊อกซิเจนและสายยางดูดขี้ปลา
    4. กระชอนช้อนปลา
    5. พันธุ์ไม้น้ำ
    6. หิน กรวด
    อุปกรณ์จากข้อ3-6 ต้องแช่ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาไว้ 1-2 วัน แต่พันธุ์ไม้น้ำ ให้แช่เพียง 10 นาทีก็พอ
    การนำปลาหางนกยูงลงเลี้ยง
    จัดซื้อปลาหางนกยูงตามชนิดหรือสายพันธุ์ที่ต้องการซึ่งส่วนใหญ่จะใส่ถุงมา ต้องนำถุงปลาแช่ไว้กับในตู้ปลา ครึ่ง-1 ชั่วโมง เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำในถุงให้เท่ากับน้ำในตู้ปลาเสียก่อนหรือเพื่อให้ปลาชินกับอุณหภูมิของน้ำใหม่ การปล่อยปลาให้เอียงปากถุงให้ปลาว่ายออกไปเอง แล้วรอสังเกตุดูว่าปลาเกิดอาการดื่มน้ำหรือเปล่าถ้าเกิดอาการให้ใส่น้ำยาปรับสภาพน้ำลงไปเล็กน้อย
    การให้อาหาร
    การให้อาหารกับปลาลงตู้ใหม่ๆไม่ควรให้อาหารใดๆในวันแรก หลังจากนั้นต้องให้ทีละน้อยถ้าเหลือต้องตักหรือดูดออก เพราะอาหารตกค้างจะทำให้น้ำเสียแล้วค่อยเพิ่มในครั้งต่อๆไปให้เหมาะสมตามความต้องการ
    – ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ในปริมาณเช้าที่มากกว่าช่วงเย็น เพราะว่าการย่อยอาหารในเวลาเช้าจะดี มีแสงแดด อ๊อกซิเจนสูง แต่ในเวลาเย็นแสงแดดอ่อนลง อ๊อกซิเจนจะต่ำลงไปตามพระอาทิตย์ อาจทำให้ปลาท้องอืดและอาจตายได้ เนื่องจากระบบการย่อยไม่สมบูรณ์อาหารตกค้างในท้อง
    การดูแลน้ำเลี้ยงปลา
    น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง มักไม่ใคร่เป็นปัญหา เพราะเป็นปลาเล็กมูลปลาน้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้สังเกตุจากอาหารของปลา ถ้าเป็นปกติมีความสุขดีก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพียงอาจจะดูดขี้ปลาก้นตู้สักสัปดาห์ละครั้ง แล้วเติมน้ำ(ที่ผ่านการพักแล้ว) ให้ได้ระดับเหมือนเดิมและเมื่อเวลาผ่านไปนานอาจเกิดตะไคร้น้ำ ทำให้ไม่สวยงาม
    – ตู้ปลาหางนกยูง ก็อาจจะล้างตู้เปลี่ยนน้ำใหม่ครั้งใหญ่สักครั้ง “การเปลียนน้ำใหม่บ่อยๆก็ใช่ว่าจะดีกับปลาเสมอไปเพราะปลาต้องปรับตัว อาจเครียดและสุขภาพกายอ่อนแอ
    “เพียงเท่านี้ก็สามารถมีปลาที่สวยงามไว้ตั้งตู้โชดูเพื่อผลอนคลายภายในบ้านได้แล้ว”

  21. ปลาหางนกยูง (อังกฤษ: Guppy) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

    มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

    ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

    ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น

    จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

  22. อยากเลี้ยงปลาทอง ค่ะ

    วิธีเตรียมการ

    1.ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
    ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว
    2.การให้อาหาร
    แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ
    3.คุณภาพของน้ำ
    น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย
    อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
    ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว

  23. การเลี้ยงปลาทอง
    -เลี้ยงในจำนวนที่เหมาะสม โดยดูจากภาชนะที่ใช้เลี้ยง ตู้ที่นิยมเลี้ยงส่วนมากเป็นตู้ขนาด 60 ซ.ม. ( 24 นิ้ว ) จะใช้เลี้ยงปลาทองที่มีความยาว 3-4 ซ.ม. ประมาณ 7-8 ตัว และควรติดตั้งแอร์ปั้ม เพื่อเป็นการเพิ่มอากาศ ในตู้ปลา ถ้าหากแอร์ปั้มมีขนาดใหญ่ ตู้ปลาขนาด 60 ซ.ม. จะสามารถเลี้ยงได้ถึง 15-20 ตัว แต่ต้องคำนึงถึงระบบกรองน้ำด้วย เพราะปลายิ่งมากน้ำก็จะยิ่งสกปรกเร็ว
    -การให้อาหาร การกินอาหารมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ปลาเสียการทรงตัว ดังนั้นการให้อาหารทีละน้อยๆ จึงเป็นเรื่องที่ดี ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลากินไม่หมดหรือกินไม่ทั่ว เศษอาหารที่จมลงพื้นตู้ หรือก้นบ่อ จะเริ่มทำให้น้ำสกปรก และอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ก็จะเริ่มตามมา โดยจะเห็นได้ชัดในช่วงหน้าหนาว
    -ระวังเรื่องคุณภาพน้ำที่แย่ลง และควรจะเปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อเจอสภาพน้ำดังนี้
    น้ำที่ขาวขุ่น
    เกิดเป็นฟองขาวขึ้น ไม่ยอมแตกหายไป
    ปลาทั้งหมดพร้อมใจลอยเชิดจมูกอยู่ตามผิวน้ำ
    น้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นอย่างกะทันหัน อาจเพราะแบคทีเรีย หรือแอมโมเนียในน้ำสูงเกินไป

  24. 1.เลือกพันธุ์ปลาที่อยากเลือก2.เตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยง เช่น ภาชนะในการเลี้ยง3.นำปลาลงในภาชนะที่ใช้เลี้ยง4.หมั่นให้อาหารและเปลี่ยนน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ

  25. การเลี้ยงปลากัดนั้นต้องเตรียมสถานที่เพาะปลากัด กะละมัง บ่อรอง ฯลฯ ส่วนการใช้น้ำที่ใส่ในภาชนะเพาะไม่ควรจะเป็นน้ำที่สะอาด ควรจะเป็นน้ำใหม่ที่ไม่มีสารพิษเจือปนเท่านั้น การเติมน้ำลงในภาชนะเพาะก็ไม่ควรเติมน้ำลงไปมากนัก เติมเพียง 15 ซ.ม. ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การเตรียมสภาพแวดล้อมก็มีส่วนช่วยให้การเพาะฟักให้เป็นไปด้วยดี ควรใส่ความเป็นธรรมชาติลงไปด้วย เช่น ใส่สาหร่ายและใบไม้ลอยบนผิวน้ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นใบมะยม ใบบอน เพื่อให้พ่อปลาไว้ก่อหวอด และนำภาชนะเพาะไปไว้ในที่สงบ ๆ เท่านั้นเป็นอันเสร็จ

  26. ได้เรื่องรู้การเลี้ยงปลาสวยงาม
    จะเลี้ยงปลาทอง ค่ะ
    1. การเลือกตู้ปลาหรือภาชนะที่ใส่ปลาทอง
    ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
    2.เลือกสถานที่วางภาชนะหรือตู้ปลา
    จุดที่เหมาะสำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวกถ้าได้ที่มีแสงแดดตอนเข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก
    3. การให้อาหาร
    ควรให้วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และอาจจะตายได้
    4. อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
    ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน
    5. คุณภาพของน้ำ
    น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี
    จากการค้นคว้าหาข้อมูลทำให้เรารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูปลาทอง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
    ขอบคุณ ครูภานิต เพียรมาก ที่ให้ข้อมูลและความรู้ นะค่ะ

ส่งความเห็นที่ panit877 ยกเลิกการตอบ